LR-Import ภาพ และเรียนรู้การใช้โปรแกรมเบื้องต้น

0
944

การถ่ายภาพและการสร้างสรรค์ภาพที่ดีนั้นไม่ได้มีแค่การถ่ายจบแล้วแสดงผลงานตามที่ต่าง ๆ เลย เราสามารถนำภาพที่เราถ่ายมาตกแต่งเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความชัดเจนในอารมณ์ของภาพ และความสร้างสรรค์ที่มากขึ้นได้ ผ่านการใช้งานโปรแกรมเกี่ยวกับการถ่ายภาพต่าง ๆ โดยเฉพาะโปรแกรมยอดนิยมอย่าง Adobe Lightroom

สาเหตุที่ช่างภาพส่วนใหญ่นิยมใช้ Adobe Lightroom เพราะเป็นโปรแกรมแต่งภาพที่มีเครื่องมือครอบคลุม หลากหลาย ทำให้สามารถแต่งภาพได้ง่ายและปรับแต่งได้ละเอียดขึ้น การใช้งานไม่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ และการฝึกฝนสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ภาพตามคอนเซปต์ที่ตั้งไว้ อีกทั้งโปรแกรมนี้ยังสามารถส่งภาพไปยังโปรแกรม Adobe Photoshop เพื่อทำการแก้ไขภาพเพิ่มเติมได้อีกด้วย

สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งติดตั้งหรือทดลองใช้โปรแกรม Adobe Lightroom อาจจะยังสับสนกับการเริ่มต้นใช้งานโปรแกรม ในวันนี้ ผู้เขียนจึงมาแนะนำวิธีการใช้งานโปรแกรม ตั้งแต่การ Import ภาพ และตกแต่งภาพเบื้องต้น รับรองว่าไม่ยากอย่างที่คิด มาดูกันเลย

Import ภาพง่าย ๆ ในไม่กี่คลิก
เมื่อเปิดโปรแกรมมาแล้วจะพบกับหน้าตาของโปรแกรมที่มีอะไรก็ไม่รู้เต็มไปหมดใช่ไหม เอาล่ะ
เริ่มจากการกดปุ่ม Import เพื่อนำภาพเข้ามาในโปรแกรม

ทำการเลือกโฟลเดอร์ของภาพ เลือกภาพที่ต้องการ จากนั้นกด Import

เมื่อ Import ภาพเสร็จแล้วจะมีโฟลเดอร์ขึ้นที่กล่องเครื่องมือ Folder ด้านซ้ายมือ ซึ่งเราจะใช้ในการเลือกหาตำแหน่งของภาพที่ต้องการ

การแต่งภาพด้วยโปรแกรม Adobe Lightroom เบื้องต้น

สำหรับการแต่งภาพเบื้องต้นนั้น ให้ไปที่แถบเมนู Develop

   เอาล่ะ เรามาดูหน้าตาของเมนูนี้กัน


1. ส่วนของ Preset ที่เกี่ยวกับการจัดเก็บค่าปรับแต่งภาพ
2. ส่วนของการแสดงผลภาพที่ใช้ปรับแต่ง
3. ส่วนของเครื่องมือปรับแต่งภาพ
4. ส่วนของภาพในอัลบั้มหรือโฟลเดอร์ที่เราเลือก import เข้ามา

เครื่องมือในการแต่งภาพ

          1. Basic จะใช้ปรับค่าภาพโดยรวม ได้แก่ อุณหภูมิสี ความสว่าง คอนทราสต์ แสง เงา ความเข้มสี

          2. Tone Curve จะใช้ปรับค่าโทนของภาพ ให้มีแสงเงา คอนทราสต์ หรือ โทนสีของภาพบางสี ให้เพิ่มขึ้นหรือลดลง

ตัวอย่างการใช้ Tone Curve เพื่อสร้างอารมณ์ที่แตกต่างให้ภาพ

3. HSL/Color ใช้ในการปรับแต่งเฉพาะสีของภาพ

ตัวอย่างการใช้เครื่องมือ HSL/Color ปรับสี Blue เพื่อทำให้ส่วนของสีฟ้าหรือน้ำเงินในภาพเปลี่ยนไป

            4. Split Toning ใช้ในการปรับโทนสีโดยรวมของภาพในส่วนของ พื้นที่สว่าง และ พื้นที่มืด

ตัวอย่างการใช้ Split Toning ในการปรับสีโทนภาพด้วยสีเขียวและส้ม

          5. Detail ใช้ปรับรายละเอียดของภาพ เช่น ความคมชัด การลด Noise ในภาพ

ตัวอย่างการใช้ Sharpen จะช่วยให้ภาพคมขึ้น แต่ถ้ามากไปก็จะทำให้ภาพดูแข็ง ไม่เป็นธรรมชาติได้

          6. Lens Corrections ใช้ในการลดปัญหาของภาพที่เกิดจากเลนส์ เช่น ภาพบวม ขอบม่วง โดยโปรแกรมจะตั้งค่าตามเลนส์ที่ใช้ในภาพนั้น ๆ แต่ ! ใช้ได้แค่ RAW ไฟล์เท่านั้นนะ

การใช้ Lens Correction ช่วยลดขอบม่วง ลดการบวมของภาพ และช่วยทำให้ที่มุมภาพมีความสว่างสม่ำเสมอ

  7. Transform ช่วยปรับทิศทางของภาพ

ตัวอย่างการใช้ Transform ปรับภาพให้ตรงขึ้น แล้วต้องนำไป Crop อีกครั้งหนึ่ง

8. Effects ใช้ในการเพิ่มเอฟเฟคให้กับภาพ เช่น ขอบมืด หรือ Grain

การใช้ Grain เพื่อให้ภาพคล้ายภาพจากล้องฟิล์มมากขึ้น โดยปรับขอบมืดเล็กน้อย

  9. Calibration ใช้ในการปรับจูนสีและความเข้มของสีหลักโดยรวม

     จะเห็นว่าโปรแกรมนี้มีเครื่องมือให้เราใช้ได้อย่างหลากหลาย และปรับได้อย่างยืดหยุ่นเลยทีเดียว สุดท้ายนี้ภาพที่จะออกมาตรงกับคอนเซปต์ที่เราวาดไว้ในหัวได้หรือไม่นั้น ต้องเกิดจากการฝึกฝน ทดลองปรับค่าต่าง ๆ ในโปรแกรมให้ชำนาญ จึงจะช่วยให้เราแต่งภาพได้สวย สามารถดึงอารมณ์ของภาพ และดึงเอกลักษณ์ของผู้ถ่ายขึ้นมาได้ ลองไปหัดใช้กันดูนะครับ

Advertisement

แสดงความคิดเห็น

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่